วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2563

งานที่ 5 ระบบควบคุมคุณภาพ



ระบบควบคุมคุณภาพ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ (Quality Control–Q.C.)

คือ QC (Quality Control) หมายถึง การควบคุมคุณภาพสินค้าให้เป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ และสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าสูงสุด ด้วยกระบวนการ Inspection คือกระบวนการการตรวจสอบตำหนิและจุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะทำการส่งกลับไปแก้ไขหรือคัดทิ้ง จากนั้นจึงทำการบันทึกและเก็บสถิติของลักษณะรวมทั้งจำนวนผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกิดการบกพร่อง สำหรับนำไปวิเคราะห์สาเหตุปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น แล้วจึงทำการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ผู้ผลิตสามารถทำการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับคุณสมบัติที่ตั้งไว้มากที่สุดต่อไป

การควบคุมภาพในโรงงาน

คือ  การใช้พนักงานตรวจสอบ และคอมพิวเตอร์ตรวจสอบ

การใช้พนักงานตรวจสอบคือ ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้า และบริหารของสถานประกอบการ โดยตรวจสอบทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตตามมาตรฐานที่กำหนดโดยลูกค้า หรือทางราชการหรือตามมาตรฐานทั่วไป  
Image result for จ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพโรงงาน


คอมพิวเตอร์ตรวจสอบ
การตรวจสอบโดยคอมพิวเตอร์ โดยการตรวจสอบนั้น  ใช้ภาพที่สมบุรณ์ มาเปรียบเที่ยบกับสินค้าที่ออกมาจาการผลิต

งานที่ 4 การขัดแย้งในสถานประกอบการ

ความขัดแย้ง หมายถึง การที่แต่ละฝ่ายไป ด้วยกันไม่ได้ในเรื่องเกี่ยวกับความต้องการ ไม่ว่า จะเป็นความต้องการจริง หรือศักยภาพที่จะเกิดตามต้องการ (เสริมศักดิ์วิศาลาภรณ์, 2540:11) ความขัดแย้ง หมายถึงสภาพการณ์ที่ทาให้คนตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถตัดสินใจหรือตก ลงหาข้อยุติอันเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้

ความขัดแย้งใน สถานประกอบการ
1 การสื่อสารที่ไม่รู้เรื่อง
2 การว่ากล่าวตักเตือนที่รุนแรง
3 การไม่เข้าใจในการทำงาน 

  เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น เราจึงจำเป็นจะต้องเลือกหาวิธีการต่างๆ มาจัดการกับความขัดแย้งนั้นๆ ซึ่งจำแนกตามพฤติกรรมที่เป็นหลักสำคัญอันเป็นวิธีการแก้ไขความขัดแย้งพื้นฐาน วิธี ได้แก่
            1.   การหลีกเลี่ยง (Avoidance)
            2.   การปรองดอง (Accommodation)
            3.   การประนีประนอม (Compromise)
            4.   การแข่งขัน (Competition)
            5.   การร่วมมือกัน (Collaboration)

งานที่ 3 กิจกรรมควบคุมความเสี่ยง


Image result for การควบคุมความเสี่ยง

ความเสี่ยง (Risk)
ความเสี่ยง คือ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคตและมีผลกระทบหรือทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ทั้งในด้านยุทธศาสตร์ การปฏิบัติงาน การเงินและการบริหาร

การบริหารความเสี่ยง คือ กระบวนการดำเนินงานขององค์กรที่เป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้องค์กรลดมูลเหตุของแต่ละโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย ให้ระดับของความเสียหายและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กรเป็นสำคัญ

ความเสี่ยงจำแนกได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
1)ความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR)
2)ความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Financial Risk : FR)
3)ความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk : OR)
4)ความเสี่ยงทางด้านกฎหมาย และข้อกำหนดผูกพันองค์กร (Compliance Risk : CR)







ปัจจัยความเสี่ยง (Risk Factor)
ปัจจัยความเสี่ยง หมายถึง ต้นเหตุ หรือสาเหตุที่มาของความเสี่ยง ที่จะทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยต้องระบุได้ด้วยว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดที่ไหน เมื่อใดและจะเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไม ทั้งนี้สาเหตุของความเสี่ยงที่ระบุควรเป็นสาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้วิเคราะห์และกำหนดมาตรการความเสี่ยง ในภายหลังได้อย่างถูกต้อง

ปัจจัยความเสี่ยงพิจารณาได้จาก
1)ปัจจัยภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎหมาย ฯลฯ
2)ปัจจัยภายใน เช่น กฎระเบียบ ข้อบังคับภายในองค์กร ประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ ระบบการทำงาน ฯลฯ




การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
การประเมินความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยง โดยการประเมินจากโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) และผลกระทบ (Impact)

1)โอกาสที่จะเกิด (Likelihood) หมายถึง ความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ ความเสี่ยง
2)ผลกระทบ (Impact) หมายถึง ขนาดความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากเกิด เหตุการณ์ความเสี่ยง
3)ระดับของความเสี่ยง (Degree of Risk) หมายถึง สถานะของความเสี่ยงที่ได้จากประเมินโอกาสและผลกระทบของแต่ละปัจจัยเสี่ยงแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก






การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
การบริหารความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการบริหารจัดการให้โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลงหรือผลกระทบของความเสียหายจากเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ซึ่งการจัดการความเสี่ยงมีหลายวิธีดังนี้

1)การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) เป็นการยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่คุ้มค่า ในการจัดการควบคุมหรือป้องกันความเสี่ยง
2)การลด/การควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction) เป็นการปรับปรุงระบบการทำงานหรือการออกแบบวิธีการทำงานใหม่เพื่อลดโอกาสที่จะเกิด หรือลดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
3)การกระจายความเสี่ยง หรือการโอนความเสี่ยง (Risk Sharing) เป็นการกระจายหรือถ่ายโอนความเสี่ยงให้ผู้อื่นช่วยแบ่งความรับผิดชอบไป
4)เลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance) เป็นการจัดการความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงมากและหน่วยงานไม่อาจยอมรับได้ จึงต้องตัดสินใจยกเลิกโครงการ/กิจกรรมนั้น









การควบคุม (Control)การควบคุม หมายถึง นโยบาย แนวทาง หรือขั้นตอนปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งกระทำเพื่อลดความเสี่ยง และทำให้การดำเนินบรรลุวัตถุประสงค์ แบ่งได้ 4 ประเภท คือ

1)การควบคุมเพื่อการป้องกัน (Preventive Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยง และข้อผิดพลาดตั้งแต่แรก
2)การควบคุมเพื่อให้ตรวจพบ (Detective Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อค้นพบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้ว
3)การควบคุมโดยการชี้แนะ (Directive Control) เป็นวิธีการควบคุมที่ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
4)การควบคุมเพื่อการแก้ไข (Corrective Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้ถูกต้องหรือเพื่อหาวิธีการแก้ไขไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำอีกในอนาคต

งานที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์การ

ความหมายของการเพิ่มประสิทธิภาพในองค์การ
       การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์การ เป็นกระบวนการวางแผนที่มุ่งจะพัฒนาความสามารถขององค์การ เพื่อให้สามารถที่จะบรรลุและธำรงไว้ซึ่งระดับการปฏิบัติงานที่พอใจที่สุด ซึ่งสามารถวัดได้ในแง่ของประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความเจริญเติบโตขององค์การ
            การเพิ่ม หมายถึง จำนวนที่มากขึ้น ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงขึ้น รูปแบบของผลผลิตสวยงามขึ้น และการบริการที่รวดเร็วขึ้น
            ประสิทธิภาพ หมายถึง การทำงานที่มีการใช้ทรัพยากรการบริหารให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งมีข้อแตกต่างจากคำว่าประสิทธิผล
             ประสิทธิผล หมายถึง การทำงานที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
             องค์การ หมายถึง หน่วยงานต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในสังคมที่อาศัยอยู่ เช่น โรงเรียน บริษัทห้างร้าน หน่วยงานราชการต่างๆ โรงพยาบาล โรงงาน นั่นเอง
             ประสิทธิภาพ เป็นเรื่องของการใช้ปัจจัยและกระบวนการในการดำเนินงานโดยมีผลผลิตที่ได้รับเป็นตัวกำกับการแสดง ประสิทธิภาพของการดำเนินงานใดๆ อาจแสดงค่าของประสิทธิภาพในลักษณะการเปรียบเทียบระหว่างค่าใช้จ่ายในการลงทุนกับผลกำไรที่ได้รับ ซึ่งถ้าผลกำไรมีสูงกว่าต้นทุนเท่าไรก็ยิ่งแสดงถึงประสิทธิภาพมากขึ้น ประสิทธิภาพอาจไม่แสดงเป็นค่าประสิทธิภาพเชิงตัวเลข แต่แสดงด้วยการบันทึกถึงลักษณะการใช้เงิน วัสดุ คน และเวลา ในการปฏิบัติงานอย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่มีการสูญเปล่าเกินความจำเป็น รวมถึงมีการใช้กลยุทธ์หรือเทคนิควิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมและสามารถนำไปสุ่การบังเกิดผลได้รวดเร็วตรงประเด็นและมีคุณภาพ
                2.1.1 ระดับของประสิทธิภาพ
                          ประสิทธิภาพมี ระดับ คือ ประสิทธิภาพของบุคคลและประสิทธิภาพขององค์การ
                                1. ประสิทธิภาพของบุคคล การมีประสิทธิภาพหมายความว่า การทำงานเสร็จโดยสูญเสียเวลาและพลังงานน้อยที่สุด ค่านิยมที่ทำงานยึดกับสังคม คือการทำงานได้รวดเร็ว และได้งานดี(วัชรี ธุวธรรม, 2523 : 246) บุคคลที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน คือบุคคลที่ตั้งใจปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ ใช้กลวิธีหรือเทคนิคการทำงานที่จะสร้างผลงานได้มาก เป็นผลงานที่มีคุณภาพเป็นที่น่าพอใจโดยสิ้นเปลืองทุน ค่าใช้จ่าย พลังงาน และเวลาน้อย เป็นบุคคลที่มีความสุขและพอใจในการทำงาน เป็นบุคคลที่มีความพอใจจะเพิ่มพูนคุณภาพและปริมาณของผลงาน คิดค้น ดัดแปลงวิธีการทำงานให้ได้ผลดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ
                                2. ประสิทธิภาพขององค์การ คือ การที่องค์การสามารถดำเนินงานต่างๆ ตามภารกิจหน้าที่ขององค์การโดยใช้ทรัพยากรปัจจัยต่างๆ รวมถึงกำลังคนอย่างคุ้มค่าที่สุด มีการสูญเปล่าน้อยที่สุดมีลักษณะการทำงานไปสู่ผลตามวัตถุประสงค์ได้อย่างดีโดยประหยัดทั้งเวลา ทรัพยากร และกำลังคน องค์การมีระบบการบริหารจัดการที่เอื้อต่อการผลิตและบริการได้ตามเป้าหมายองค์การมีความสามารถในยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีอย่างฉลาด  ทำให้เกิดวิธีการทำงานที่เหมาะสม มีความราบรื่นในการดำเนินงาน มีปัญหาอุปสรรคและความขัดแย้งน้อยที่สุด บุคลากรมีขวัญกำลังใจดี มีความสุขความพอใจในงานที่ทำ
                                สรุป ความหมายของการเพิ่มประสิทธิภาพในองค์การ คือ ความต้องการที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ก้าวหน้าขึ้นในอนาคต โดยใช้ความรู้ทางด้านการบริหารและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ประยุกต์เป็นหลักและทิศทางที่ก้าวหน้าขององค์การในอนาคต เป็นระบบที่องค์การได้จัดรูปแบบให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสร้างกลุ่มทำงานที่มีประสิทธิภาพให้การทำงานอย่างมีประสิทธิผลให้กับองค์การ
                2.1.2 วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในองค์การ
                      การที่องค์การจะไปสู่คุณภาพหรือสามารถเพิ่มประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องปรับองค์การโดยทั่วไปนิยมใช้ วิธี คือ
                                1. การลดต้นทุน
                                2. การเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่อง
                                3. การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
                2.1.3 นิสัยแห่งคุณภาพของทรัพยากรบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ
                         วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในองค์การทั้ง วิธีการข้างต้น จะต้องขับเคลื่อนด้วยทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะ นิสัยแห่งคุณภาพทั้ง ประการ ดังนี้
                                1. ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
                                2. การทำงานเป็นทีม
                                3. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
                                4. การมุ่งที่กระบวนการ
                                5. การศึกษาและฝึกอบรม
                                6. การประกันคุณภาพ
                                7. การส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมกลยุทธ์การบริหารคุณภาพ เป็นเพียงการนำเสนอ ดังนี้ (1) วงจร PDCA   (2) ระบบ ส หรือ 5 S  (3) กลุ่มระบบ QCC (Quality Control Circle : QCC)  (4) ระบบการปรับรื้อ (Re-engineering) และ (5) ระบบ TQM (Total Quality Management)

งานที่ 1 การจัดการโครงส้รางขององค์กร

โครงสร้างองค์กร

แผนภูมิโครงสร้างการจัดการ 





โครงสร้างองค์กรคือตัวกำหนดพฤติกรรมของ "คนองค์กร โครงสร้างองค์กร เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคน และกลุ่มคนภายในองค์กร ซึ่งอิทธิพลที่สร้างขึ้นนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากวัตถุประสงค์ในการควบคุม (Control) โดยการถูกควบคุมนั้นมาจากลักษณะของงาน ที่ได้ออกแบบไว้ภายในโครงสร้างองค์กร

โครงสร้างองค์การ (Organization  Structure)  หมายถึง  ระบบการติดต่อสื่อสาร และอำนาจบังคับบัญชาที่เชื่อมต่อคน และกลุ่มคนเข้าด้วยกัน  เพื่อทำงานร่วมกันจนบรรลุเป้าหมายขององค์การ
โครงสร้างขององค์การประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ (Objective) 
2. ภาระหน้าที่ (Function) 
3. การแบ่งงานกันทำ (Division  of  Work) 
4. การบังคับบัญชา (Hierarchy) 
5. ช่วงของการควบคุม (Span  of  Control) 
6. เอกภาพการบังคับบัญชา (Unity  of  Command) 
รูปแบบองค์การ
รูป แบบที่เป็นทางการ  เป็นองค์การที่มีการรวมตัวกันของกลุ่ม อย่างมีระบบ แบบแผน ชัดเจน  ครอบคลุมทุกส่วนของการปฏิบัติงาน  เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
รูป แบบที่ไม่เป็นทางการ  เป็นองค์การที่มีการรวมตัวกันของกลุ่ม  อย่างไม่มีระบบของการบริหารไม่กฎเกณฑ์  ไม่ระเบียบข้อบังคับของการปฏิบัติงาน
ประเภทขององค์การ 
1.  แบ่งตามความมุ่งหมายขององค์การ  แบ่งได้  4  ประเภท  คือ
1.1 องค์การเพื่อประโยชน์ของสมาขิก (Mutual-Benefits)
1.2 องค์การธุรกิจ  (Business  Concerns)
1.3 องค์การเพื่อสาธารณะ (Commonweal  Organization)
1.3 องค์การเพื่อบริการ (Service  Organization)
2.  แบ่งตามการจัดระเบียบภายในองค์การ (Formal  Organization)  เกิดจากความสัมพันธ์ส่วนบุคคลในกลุ่มองค์กร  แบบเป็นทางการหรืออาจเกิดขึ้นในสังคมใดก็ได้
3.  แบ่งตามลักษณะความเป็นเจ้าของ  แบ่งได้  2  ประเภท
3.1 องค์การรัฐกิจ
3.2 องค์การธุรกิจที่เอกชนเป็นเจ้าของ